เรื่องของ “ไข่” กับนักกีฬา

เรื่องของ “ไข่” กับนักกีฬา

April 12, 2019

ประโชยน์ของ “ไข่” กับนักกีฬา

 

เชื่อเหลือเกินว่า นักกีฬาหลายคนที่จริงจังกับการควบคุมอาหาร และต้องการสารอาหารที่พอเพียงต่อการพัฒนาศักยภาพ และการสร้างกล้ามเนื้อนั้น กำลังมองหาอยู่ว่าควรจะทานอะไรดีในแต่ละวัน?

ร่างกายของคนปรกติต้องการโปรตีนเพียง 0.8 x น้ำหนักตัวต่อวัน แต่...

ร่างกายของนักกีฬาต้องการโปรตีนถึง 2 กรัม x น้ำหนักตัว นับเป็นสองเท่ากว่าของคนปรกติ ยกตัวอย่าง นักกีฬามีน้ำหนัก 63 กิโลกรัม x 2 กรัม = โปรตีน 126 กรัม จึงจะเพียงพอต่อนักกีฬาคนนี้ในการซ่อมแซม และสร้างกล้ามเนื้อขึ้นมาใหม่

 

 

"ไข่" เป็นอาหารที่ให้โปรตีน แร่ธาตุ และวิตามิน ที่จำเป็นต่อร่างกายเราเป็นอย่างมาก และถือเป็น โปรตีนคุณภาพสูงที่สุดสำหรับกล้ามเนื้อและระบบประสาท  มีค่า Biological Value เป็น 100 ซึ่ง หมายความว่าเป็นโปรตีนที่สมบูรณ์ มีประสิทธิภาพในการดูดซึมสูงกว่าโปรตีนชนิดอื่น

 

"ที่สำคัญ ไข่ ราคาถูกและหาได้ทั่วไปในทุกๆ พื้นที่"

 

ไข่ไก่ 1 ฟอง ให้พลังงาน 70 กิโลแคลอรี่

โปรตีน ในไข่ขาว 3 กรัม โปรตีนในไข่แดง 3 กรัม = 6 กรัม

ดังนั้น ไข่ 21 ฟองถึงจะเพียงพอต่อนักกีฬาที่มีน้ำหนัก 63 กิโลกรัม ซึ่งหากท่านรับประทานไข่มากขนาดนั้น จะเป็นการรับประทานที่มากเกินไปไม่พอดี และจะเป็นการเพิ่มโคเรสตอเรอลในร่างกายมากเกินไป จึงควรรับประทานโปรตีนจากหลายๆ แหล่ง

 

แร่ธาตุ และวิตามิน ในไข่ที่จำเป็นต่อนักกีฬา

    • แคลเซียม, ฟอสฟอรัส จำเป็นต่อโครงสร้างของกระดูกและฟัน เส้นเอ็นและข้อต่างๆของร่างกาย
      • วิตามิน B1 B2 B6 B12 ซึ่งมีความจำเป็นสำหรับร่างกายในการช่วยแปลเปลี่ยนสารอาหารที่เราทานเข้าไปกลายเป็นพลังงาน
        • โคลีน (Choline) ในไข่แดง สารอาหารที่จำเป็น ต่อการสร้างเซลล์สมอง ประสิทธิภาพความจำการทำงานของสมอง ช่วยต้านการเป็นโรคอัลไซเมอร์
          • ซิงค์ (Zinc) ช่วยในการเผาผลาญพลังงาน และจำเป็นต่อระบบ Testosterone ซึ่งช่วยในการสร้างกล้ามเนื้อ
            • แมกนีเซียม (Magnesium) แร่ธาตุที่สำคัญในการสร้างเซลล์ ช่วยในการสร้างกล้ามเนื้อ และฟื้นฟู เพื่อรองรับการออกกำลังกายที่หนักหน่วง รวมทั้งยังทำให้การหลับมีประสิทธิภาพมากขึ้น
              • กรดอะมิโนจำเป็น 8 ชนิด
                • ไอโซลิวซีน (Isoleucine) ช่วยเสริมสร้างการเจริญเติบโตและการทำงานของระบบประสาท ช่วยพัฒนาการเรียนรู้
                • ลิวซีน (Leucine) กระตุ้นการทำงานสมอง เพิ่มพลังให้กล้ามเนื้อ เซลล์ประสาทแข็งแรง
                • ไลซีน (Lysine) ซ่อมแซมกล้ามเนื้อที่สึกหรอ เป็นสารตั้งต้นของแอลคาร์นิทีน ที่ช่วยเผาผลาญไขมัน ช่วยให้มีสมาธิ และดูดซึมแคลเซียม จึงช่วยป้องกันโรคกระดูกพรุน
                • เมไธโอนีน (Methionine) เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ กำจัดสารพิษออกจากร่างกาย และช่วยย่อยสลายไขมัน
                • ฟีนีลอะลานีน (Phenylalanine) เพิ่มความตื่นตัวทำให้รู้สึกกระฉับกระเฉง เสริมความจำ บรรเทาอาการซึมเศร้า และลดความอยากอาหาร
                • ทรีโอนีน (Threonine) ช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกัน ช่วยเผาผลาญไขมัน มีประโยชน์ต่อระบบย่อยอาหาร และการดูดซึมสารอาหารต่างๆ ในร่างกาย
                • ทริปโตแฟน (Tryptophan) ลดความเครียดและภาวะซึมเศร้า บรรเทาอาการไมเกรน ช่วยส่งเสริมการนอนหลับอย่างเป็นธรรมชาติ
                • วาลีน (Valine) ช่วยกระตุ้นสมรรถนะของสมองและการประสานงานกันของกล้ามเนื้อ

               

               

              เราควรจะทานไข่ในปริมาณเท่าใด?

              “ไข่” กับความเชื่อว่าเราไม่ควรจะกินไข่ เกินวันละ 1 ฟอง หรือ ผู้ใหญ่ไม่ควรทานเกินสัปดาห์ละ 2-3 ฟอง เพราะจะทำให้คอเรสเตอรอลสูงเกินไป ส่งผลให้เป็นโรคเกี่ยวกับคอเรสเตอรอลจริงหรือไม่?

               

                   ในปี 1999 มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ได้ทำการวิจัย โดยเก็บสถิติ ถึง 8 ปี ติดตามดูคนถึงแปดหมื่นกว่าคน แบ่งเป็นสองกลุ่ม กลุ่มหนึ่งมีนิสัยกินไข่มาก คือสัปดาห์ละ 7 ฟองขึ้นไป อีกกลุ่มหนึ่งมีนิสัยกินไข่น้อย คือน้อยกว่าสัปดาห์ละ 7 ฟอง ตามดูไป 8 ปี ก็พบว่าคนทั้งสองกลุ่มนี้มีอัตราการเป็นโรคหัวใจขาดเลือดไม่ต่างกัน

              ในเวลาไล่ๆ กันต่อมาในปี 2013 ก็มีการตีพิมพ์งานวิจัย  แบบยำรวมข้อมูล (เมตาอานาไลซีส) จากงานวิจัยแบบติดตามดูกลุ่มคนไปข้างหน้าจำนวน 17 งานวิจัย ซึ่งมีฐานข้อมูลคนกินไข่ที่ใหญ่ระดับ 3,081,269 คน/ปี โดยเอาการเกิดจุดจบที่เลวร้ายด้านหัวใจและอัมพาตเป็นเกณฑ์ ก็ได้ผลสรุปว่าการกินไข่ถึงสัปดาห์ละ 7 ฟอง ไม่ได้มีผลต่อจุดจบที่เลวร้ายทางด้านหัวใจและอัมพาตแต่อย่างใด

              เพราะ คอเลสเตอรอลในร่างกายแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ  คอเลสเตอรอลที่ร่างกายสร้างขึ้นที่ตับ จากพลังงานส่วนเกินที่ร่างกายต้องการ เช่น โดยการกินคาร์โบไฮเดรตที่มากเกินไป โดยคอเลสเตอรอลส่วนนี้มีมากถึง 75% ของร่างกาย อีกส่วนคือ สารคอเลสเตอรอลที่ได้รับจากการรับประทานอาหารโดยตรง  ซึ่งมีเพียง 25% เท่านั้น ดังนั้น การลดการกินไข่ ก็ไม่ได้ทำให้ระดับคอเลสเตอรอลต่ำลง

              ระดับการเพิ่มขึ้นของ คอเรสตอรอลในร่างกายส่วนใหญ่พบว่าเกิดจากอาหารไม่ดีชนิดอื่นๆ ที่เราทานเข้าไปในแต่ละวันมากกว่า อาทิเช่น เนย มาการีน เบคอน งานวิจัยต่างๆเหล่านี้ทำให้ความกลัวไข่ที่มีมาแต่เดิมค่อยๆ แผ่วลง

               

              “การบริโภคไข่อย่างพอดีและสมส่วน จึงตอบโจทย์ความต้องการของเราได้มากที่สุด”
              "ที่สำคัญ นักกีฬาอย่างเรา ไม่ควรกินของทอดน้ำมัน ดังนั้นเลือกเมนู ไข่ต้ม ไข่ลวก ไข่มะตูม จึงดีที่สุดนะครับ”

               

               

              " ทุกคำมีความหมาย "
              #CP
              #ทุกคำมีความหมาย

               

               

              Nich Media

              แหล่งข้อมูลอ้างอิง www.honestdocs.co, www.posttoday.com

              ขอขอบคุณรูปสวยๆ จาก PIXABAY