อาหารที่มีไขมันทรานส์อันตรายจริงหรอ ?

อาหารที่มีไขมันทรานส์อันตรายจริงหรอ ?

April 02, 2019

อาหารที่มีไขมันทรานส์อันตรายจริงหรอ?

     ปัจจุบันมีโรคหลายโรคที่เราได้ยินบ่อยๆและรู้สึกใกล้ตัวมากยิ่งขึ้น เช่น โรคอ้วน, ความดันโลหิตสูง, เบาหวาน, คลอเลสเตอรอลสูง, หัวใจและหลอดเลือด ซึ่งสาเหตุส่วนหนึ่งเกิดมาจากพฤติกรรมการกินไขมันทรานส์ (trans fat) โดยไม่รู้ตัว ซึ่งอาหารที่มีไขมันทรานส์ คือ เนยขาว มาร์การีน ครีมเทียม ครีมเทียมข้นหวาน รวมถึงน้ำมันพืชและการปรุงอาหารที่ทอดด้วยน้ำมันเดิมซ้ำๆหลายครั้ง

 

 

ตามที่ FAO/WHO กำหนดไว้ เราไม่ควรได้รับไขมันทรานส์เกิน 1% ของพลังงานรวมที่ได้รับ เช่น ถ้าความต้องการพลังงานต่อวันโดยเฉลี่ยคือ 2000 กิโลแคลอรีต่อวัน ปริมาณไขมันทรานส์ ที่ร่างกายจะรับได้คือ 2.2 กรัม/วัน

 

 

ไขมันทรานส์คืออะไร
     สำหรับไขมันทรานส์นั้นจะเรียกว่าจอมวายร้ายก็คงจะไม่ผิดนัก เนื่องจากเป็นไขมันชนิดที่อันตรายที่สุดเลยก็ว่าได้ โดยไขมันทรานส์นี้คือ ไขมันที่ไม่อิ่มตัวเกิดขึ้นจากการสังเคราะห์ขึ้นผ่านวิธีการแปรรูปโดยกระบวนการเติมไฮโดรเจนในน้ำมันพืช ทำให้น้ำมันซึ่งเป็นของเหลวเกิดการเปลี่ยนแปลงไปอยู่ในรูปของของแข็ง ซึ่งเราเรียกว่ากระบวนการนี้ไฮโดรจีเนชั่น

 

 

อันตรายของไขมันทรานส์
สำหรับใครที่ชื่นชอบการรับประทานอาหารประเภททอดๆ ทั้งหลาย 
ที่มีกรดไขมันทรานส์มากเกินไปแล้วล่ะก็ จะส่งผลโดยตรงต่อระบบการทำงานของระบบ
เอนไซม์ในร่างกายของเรา ทำให้ไขมันชนิดดีในร่างกายของเราลดลงหรือถูกทำลายไป 
และเพิ่มจำนวนไขมันชนิดเลวให้แก่ร่างกายแทน นับว่าร้ายแรงกว่าไขมันชนิดอิ่มตัวเป็นอย่างมากเลยทีเดียว แถมเจ้าไขมันทรานส์จอมวายร้ายนี้ยังไม่สามารถย่อยสลายได้ง่ายๆ อีกด้วย 
เนื่องจากเป็นไขมันแปรรูป ซึ่งทำให้ตับของเราต้องทำงานหนักเป็นดับเบิลทวีคูณ 
และนั่นจึงนำมาซึ่งโรคหรืออันตรายจากไขมันทรานส์ อาทิ เช่น
– โรคอ้วนลงพุง
– เสี่ยงต่อโรคภัยต่างๆ ทั้งโรคหัวใจ, เบาหวาน, ความดันโลหิตสูง ตลอดจนไขมันอุดตันในเส้นเลือดและหลอดเลือด
– ทำให้เกิดภาวะความจำเสื่อม หรืออัลไซเมอร์ได้มากกว่าผู้ที่ไม่รับประทานอาหารไขมันทรานส์
– เสี่ยงต่อการเกิดอาการจอประสาทตาเสื่อม
– ทำให้นิ่วในถุงน้ำดีอักเสบ
– อาจทำให้ผู้หญิงอยู่ในภาวะมีบุตรได้ยากขึ้น

 

 

ไขมันทรานส์มีในอาหารประเภทใดบ้าง
– แฮมเบอร์เกอร์
– โดนัท
– ขนมขบเคี้ยวต่างๆ
– เฟรนซ์ฟรายส์
– คุกกี้
– เนยขาว, เนยเทียม
– ครีมเทียม
– เค้ก
– แคร็กเกอร์
– วิปครีม
– นักเก็ต
– ไก่ทอด, หมูทอด
– อาหารประเภททอดๆ ที่ต้องใช้น้ำมันหรือไขมันทั้งหลาย

ทำไมจึงใช้ไขมันทรานส์ในอาหาร?
ส่วนสาเหตุที่ผู้ประกอบการหลายรายเลือกที่จะนำเจ้าไขมันทรานส์นี้มาใช้ 
ก็เนื่องจากว่าไขมันชนิดนี้เป็นไขมันที่มีลักษณะไม่เป็นไข และสามารถทนกับความร้อนได้สูงมากๆ เลยทีเดียว แถมยังสามารถเก็บไว้นานโดยไม่มีกลิ่นเหม็นหืนใดๆอีกด้วย รวมทั้งให้รสชาติเหมือนกับไขมันที่ได้จากสัตว์ และที่สำคัญที่สุดเลยก็คือทำให้ผู้ประกอบการไม่ต้องลงทุนมากเพราะมีราคาถูก เรียกว่าลงทุนน้อยแต่ได้กำไรเน้นๆ จึงทำให้ผู้ประกอบการต่างๆ 
เลือกที่จะใช้ไขมันทรานส์นี้ในผลิตภัณฑ์หรืออาหารของตนนั่นเอง

 

ซึ่งในวันที่ 13 กรกฏาคม 2561 ได้มีประกาศในราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ประกาศ กระทรวงสาธารณสุข เลขที่ 388 พ.ศ.2561 เรื่อง ห้ามผลิต นำเข้า หรือ จำหน่าย อาหารที่มีส่วนประกอบหรือใช้น้ำมันที่ผ่านกระบวนการเติมไฮโดรเจนบางส่วน เนื่องจากกรดไขมันทรานส์จากน้ำมันที่ผ่านการเติมไฮโดรเจนบางส่วน ส่งผลต่อการเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด

บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ ในฐานะผู้ผลิตอาหารชั้นนำ ที่ให้ความสำคัญสูงสุด กับคุณค่าทางโภชนาการและความปลอดภัยของอาหาร ด้วยการใช้นโยบายด้านสุขภาพและโภชนาการ (Health & Nutrition Policy) ภายใต้หลักปฏิบัติในการพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพที่ดีขึ้น (CPF Healthier Choices Principle) ครอบคลุมกระบวนการผลิตอาหารทุกขั้นตอนและผลิตภัณฑ์อาหารทุกบรรจุภัณฑ์ของ ซีพีเอฟ ทำให้ไม่มีการใช้วัตถุดิบที่มีส่วนประกอบของน้ำมันที่ผ่านกระบวนการเติมไฮโดรเจนบางส่วน (Partially Hydrogenated Oils) ขณะเดียวกันยังทำการตรวจสอบซัพพลายเออร์ที่ส่งมอบวัตถุดิบในการผลิตอาหารให้กับบริษัทอย่างสม่ำเสมอ 

โดยซัพพลายเออร์ทุกรายต้องปฏิบัติตามกฏหมายและมาตรฐานการผลิตของบริษัท เพื่อความปลอดภัยสูงสุดของผู้บริโภค
เพราะคุณภาพชีวิตของคุณมีความสำคัญ ทางซีพีเอฟ ผู้ผลิตผลิตภัณฑ์อาหาร ตราซีพี จึงมุ่งผลิตอาหารที่ดีต่อสุขภาพด้วยมาตรฐาน
การผลิตระดับสากล สามารถตรวจสอบย้อนกลับได้ ด้วยการ “กินอย่างยั่งยืน เพื่อให้ทุกคำมีความหมาย” ต่อคุณมากยิ่งขึ้น

 

ขอขอบคุณข้อมูลจาก : https://www.cpbrandsite.com/%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%A2%E0%B8%B1%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B8%A2%E0%B8%B7%E0%B8%99/view_article.php?id=16

 

" กินอย่างยั่งยืน "
#CP
#กินอย่างยั่งยืน